การป้องกันและควบคุมสารเคมี (Safety with chemical)

การป้องกันและควบคุมสารเคมี (Safety with chemical)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับสารเคมี

  • สารเคมีบางชนิดสามารถติดไฟได้ง่าย
  • สารเคมีบางชนิดสามารถระเบิดได้
  • แม้จะปราศจากความร้อนแต่สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูงก็สามารถ ระเหยเป็นไอได้ ทำให้ความชื้นในบรรยากาศโดยรอบเพิ่มขึ้นได้ และบรรยากาศโดยรอบมีความบริสุทธิ์น้อยลง
  • การสัมผัสกับไอระเหยของสารเคมีมากเกินไป ทำให้ระคายเคืองต่อหู ตา จมูก ปาก รู้สึกผิดปกติในกระเพาะอาหาร ความสามารถใน การทำงานจะลดน้อยลง
  • สารเคมีทุกชนิดสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง ถ้ากระเด็นเข้าตา โดยเฉพาะสารเคมีที่ร้อน แต่ก็ยังอันตรายน้อยกว่าการขับรถท่ามกลาง การจราจรที่วุ่นวาย
  • ระดับความปลอดภัยของสารเคมีจะต้องให้สอดคล้องกับ ค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
  • ค่ามาตรฐานความปลอดภัยจะช่วยให้ทุกคนปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย
  • การที่จะมีสุขภาพดีและมีความปลอดภัยในการทำงานจะต้อง อาศัยความร่วมมือจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร คือ ต้องปฏิบัติตามค่ามาตรฐานความปลอดภัย
  • ควรเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน และเก็บบันทึกผลไว้
  • ให้คำแนะนำกับคนงานเรื่อง อันตรายของสารเคมีที่ใช้ในสถานประกอบการ
  • จัดเตรียมสถานที่ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัย มีปัญหาในพื้นที่การทำงานแจ้งให้หัวหน้าทราบทันที
  • ถ้าคิดว่าการปฏิบัติงานไม่ปลอดภัย สามารถขอความร่วมมือให้มีการประเมินอันตรายต่อสุขภาพได้จาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติตามกฎระเบียบในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ตลอดเวลาต้องทำงานด้วยความระมัดระวังและ ผู้ปฏิบัติต้องได้รับการฝึกมาอย่างดี
  • ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยตลอดเวลา
  • ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีปัญหาควรปรึกษาหัวหน้างาน หรือเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

องค์ประกอบที่บ่งชี้อันตรายของความเป็นยาพิษที่เกิดจากสารเคมีขึ้นอยู่กับ

  • ความไวรับของแต่ละบุคคล
  • อายุ
  • ภาวะโภชนาการ
  • ระยะเวลาของการเกี่ยวข้องสัมผัส
  • ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เช่น การสัมผัสกับความร้อนจะเสริมให้เกิดอันตรายมากยิ่งขึ้น

สารเคมีเข้าสู่ร่างกายโดย

  • ทางหายใจเข้าไป
  • โดยการกินเข้าไป
  • สัมผัสทางผิวหนัง
  • ผ่านทางรกจากแม่ถึงลูก

ความเป็นพิษของสารเคมี แบ่งเป็นกลุ่มได้ ดังนี้

  • สารที่ทำให้เกิดการระคายเคือง คัน แสบ ร้อน พุพอง เช่น กรด ต่างๆ ก๊าซคลอรีน แอมโมเนีย ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  • สารที่ทำให้หมดสติได้ สารเคมีนี้ไปแทนที่ออกซิเจน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ไซยาไนด์
  • สารเสพติด เป็นสารที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาท เช่น สารที่ระเหยได้ง่าย ได้แก่ แอลกอฮอล์ เบนซินอะซิโตน อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม ทำให้ปวดศีรษะ เวียน มึนงง
  • สารที่เป็นอันตรายต่อระบบการสร้างโลหิต เช่น ตะกั่วจะไปกดไขกระดูก ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติเกิดโลหิตจาง
  • สารที่เป็นอันตรายต่อกระดูก ทำให้กระดูกเสียรูปร่าง หรือทำให้กระดูกเปราะ ฟอสฟอรัส แคลเซียม
  • สารที่ทำอันตรายต่อระบบการหายใจ เช่น ปอด ทำให้เกิดเยื่อพังผืด ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับออกซิเจนได ความจุอากาศในปอดจะน้อยลงทำให้หอบง่าย เช่น ฝุ่นทราย ฝุ่นถ่านหิน
  • สารก่อกลายพันธ์ ทำอันตรายต่อโครโมโซม ซึ่งความผิดปกติจะปรากฏให้เห็นในลูกหรือ ชั้นหลาน เช่น สารกัมมันตภาพรังสี สารฆ่าแมลง โลหะบางชนิด ยาบางชนิด
  • สารก่อมะเร็ง ทำให้สร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ มากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดเนื้องอกชนิดที่ไม่จำเป็น เช่น สารกัมมันตภาพรังสี สารหนู แอสแบสตอสนิเกิ้ล เวนิลคลอไรด์ เบนซิน
  • สารเคมีที่ทำให้ทารกเกิดความพิการ คลอดออกมามีอวัยวะไม่ครบ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ แขนด้วน ขาด้วน ตัวอย่างของสารในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาธาลิโดไมด์ สารตัวทำละลายบางชนิด ยาปราบศัตรูพืชบางชนิด

นอกจากนี้บริษัทฯ ควรจะได้มีข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ ประกอบด้วย

  • ชื่อทางเคมี
  • อันตรายต่อร่างกายและสุขภาพ
  • ทางเข้าสู่ร่างกาย
  • การเฝ้าระวังสุขภาพของคนงาน
  • ระดับที่อนุญาตให้สัมผัสได้
  • ข้อควรระวังในการใช้
  • การควบคุมความปลอดภัยและการปฏิบัติงาน
  • อุปกรณ์อันตรายส่วนบุคคล
  • ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดการรั่วไหล
  • มาตรการฉุกเฉิน
  • การปฐมพยาบาล
  • แหล่งข้อมูลอื่นๆ

หลักในการควบคุมและป้องกันอันตราย จากสารเคมี

แหล่งกำเนิดของสารเคมี

  • ใช้สารที่มีพิษน้อยกว่าแทน
  • เปลี่ยนกระบวนการผลิตใหม่ เช่น ใช้ระบบเปียกแทนระบบแห้ง เพื่อมิให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจาย
  • แยกกระบวนการผลิตที่มีอันตรายออกต่างหาก
  • สร้างที่ปกปิดกระบวนการผลิตให้มิดชิด มิให้สารเคมีฟุ้งกระจายออกไป
  • ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่
  • การบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องจักร

ทางผ่านของสารเคมี

  • การบำรุงรักษาสถานที่ทำงานให้สะอาดเรียบร้อย
  • การติดตั้งระบบระบายอากาศทั่วไป
  • เพิ่มระยะทางให้ผู้ปฏิบัติห่างจากแหล่งสารเคมี
  • การตรวจหาปริมาณสารเคมีเทียบกับค่ามาตรฐานความปลอดภัยจะต้องปรับปรุงแก้ไขหากสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัย

ผู้ปฏิบัติงาน

  • การให้การศึกษาและการฝึกอบรมให้ทราบถึงอันตรายและการป้องกัน
  • การลดชั่วโมงการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายให้น้อยลง
  • การหมุนเวียนหรือการสับเปลี่ยนหน้าที่การปฏิบัติงาน
  • การให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ในห้องที่ควบคุมเป็นพิเศษ
  • การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
  • การใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การใช้สารเคมี

  • ต้องทราบถึงอันตรายของสารเคมีและวิธีการควบคุม
  • ต้องล้างมือทุกครั้งหลังปฏิบัติงานกับสารเคมี
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเสมอ
  • ทำความสะอาดบริเวณทำงานทุกครั้งหลังเลิกงาน
  • ปิดฝาภาชนะให้แน่นทุกครั้งหลังเลิกใช้
  • อย่า! ใช้ปากดูดสารเคมีแทนลูกยาง
  • จัดเก็บสารเคมีไว้ในที่เย็น อากาศถ่ายเทดี ห่างแหล่งกำเนิดประกายไฟ
  • อย่า! ปฏิบัติงานตามลำพังหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • อย่า! ทดสอบโดยการสูดดมหรือกลืนกิน

ข้อมูลโดย สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์