“ถุงมือนิรภัย” เป็นอีก 1 อุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเราในการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน
ในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ส่วนของมือ นิ้วมือและแขน ซึ่งอาจเสี่ยงต่ออันตรายจากการถูกวัตถุมีคม บาด ตัด การขูดขีดทำให้ผิวหนังถลอก มีหลายๆกรณีที่ผู้ปฎิบัติงานที่ต้องสูญเสียมือกลายเป็นผู้พิการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุแบบนี้ขึ้นไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ดังนั้นมือจึงเป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญสำหรับทุกๆคน เราควรสวมถุงมือเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดกับการทำงาานของผู้ปฎิบัติงาน เรามารู้จักถุงมือแบบต่างๆ ว่ามีคุณสมบัติแบบไหนและเราควรเลือกใช้แบบไหนกันดีกว่าครับ
- ถุงมือใช้ครั้งเดียวทิ้ง
เป็นถุงมือที่มีความบางประมาณ 4-8 mil วัตถุประสงค์ของการใช้งานคือเพื่อใช้ครั้งเดียว ในกรณีที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ทางนิ้วและต้องการความคล่องแคล่ว แต่อาจจะไม่ได้มีความทนทานมากนัก ส่วนใหญ่ทำจากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ นิยมใช้ในห้องแล็บ งานบริการทางการแพทย์ อุตสาหกรรมอาหาร (ต้องผ่านมาตรฐาน อย.) หรืองานทำความสะอาด - ถุงมือที่ใช้ได้หลายครั้ง
นิยมใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์หรือปิโตรเคมี จะมีความหนาประมาณ 18-28 mil มีความสามารถช่วยป้องกันอันตรายและมีความทนทานในระดับหนึ่ง วัสดุที่ใช้ทำส่วนใหญ่จะเป็นยางธรรมชาติหรือพีวีซี - ถุงมือหนัง
ใช้ป้องกันอันตรายจากประกายไฟ หรือสะเก็ดไฟจากงานเชื่อม ใช้ป้องกันความร้อนได้ในระดับปานกลาง และในบางครั้งอาจใช้สวนทับถุงมือกันไฟฟ้าเพื่อป้องกันการฉีกขาดและยืดอายุการใช้งานของถุงมือกันไฟฟ้า อาจจะทำจากหนังสัตว์หรือหนังฟอกก็ได้ - ถุงมืออะลูมิไนซ์
เป็นถุงมือที่เหมาะจะใช้สำหรับงานเชื่อม งานที่ทำกับเตาไฟ โรงหล่อ หรือหลอมโลหะ เพราะเป็นฉนวนป้องกันความร้อน (โครงสร้างด้านในจะเสริมด้วยวัสดุสังเคราะห์) มีคุณสมบัติต้านทานทั้งความร้อนและความเย็น - ถุงมือกันบาดเส้นใยสแตนเลส
ใช้สำหรับป้องกันการตัดและการเฉือน ใช้สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับของมีคมโดยเฉพาะ ตัวถุงมือจะทำด้วยเหล็กไร้สนิม เป็นขดลวดเล็กๆถักเป็นรูปถุงมือ ถุงมือเส้นใยสแตนเลสนี้นิยมใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร - ถุงมือกันบาดเส้นใยชนิดพิเศษ
เป็นถุงมือที่ทำจากเส้นใย High Performance Polyethylene (HPPE) ซึ่งมีคุณสมบัติเหนียว ช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากการบาดเฉือนได้ดี - ถุงมือผ้าและถุงมือเคลือบชนิดต่างๆ
เป็นถุงมือใช้งานทั่วไป ช่วยป้องกันฝุ่น สะเก็ด การครูด หรือป้องกันการลื่นในการจับวัตถุ เช่นจับก้อนอิฐ เส้นลวด ไม่สามารถป้องกันอันตรายจะวัตถุที่หยาบ แหลมคมหรือสารเคมีได้ ส่วนใหญ่ถุงมือชนิดนี้จะทำด้วยฝ้าย หรือใยผ้าอื่นๆ
- ความหนา (Thickness) โดยปกติแล้วการวัดขนาดของถุงมือนั้นจะวัดเป็น Mil (1 Mil= 0.001) การเลือกความหนาขึ้นอยู่กับลักษณะงานของเรา เช่น ถ้าต้องการความยืดหยุ่นและความรู้สึกจากการสัมผัสมากก็เลือกใช้ถุงมือที่มีความหนาน้อย แต่ถ้าต้องการการป้องกันมากขึ้น ต้องการความทนทาน ก็ต้องเลือกที่มีความหนามากขึ้น
- ความยาว (length) เป็นความยาวที่วัดตั้งแต่ช่วงฝ่ามือจนถึงปลายของถุงมือ ควรเลือกความยาวให้สัมพันธ์กับระยะหรือตำแหน่งที่ต้องการการป้องกัน ความยาวที่แนะนำโดยทั่วไปคือ
– ป้องกัน มือ และ ข้อมือ : ความยาวที่แนะนำ คือ 9-14 นิ้ว(23-26 ซม.)
– ป้องกัน ท่อนแขนช่วงล่าง ถึง ข้อศอก : ความยาวที่แนะนำ คือ 14-18 นิ้ว(36-46 ซม.)
– ป้องกัน ท่อนแขน ถึง หัวไหล่ : ความยาวที่แนะนำ คือ ประมาณ 31 นิ้ว (76 ซม.) - ขนาด (Size) ควรเลือกใช้ถุงมือที่มีขนาดพอดี ไม่คับหรือไม่หลวมจนเกินไปเพราะถ้าเราใช้ขนาดเล็กเกินไป ถุงมืออาจจะปริแตกหรือฉีกขาดได้ หรือในทางกลับกัน ถ้าเราใช้ถุงมือขนาดใหญ่เกินไปก็อาจจะเกิดการลื่นหลุดจากมือและนำมาซึ่งอุบัติเหตุในการทำงานได้ในที่สุด
- 6-7 นิ้ว = Extra small
- 7-8 นิ้ว = small
- 8-9 นิ้ว = Medium
- 9-10 นิ้ว = Large
- 10-11 นิ้ว = Extra large
- ถุงมือกันบาด
ตัวถุงมือจะถักจากเส้นใยกันบาดชนิดพิเศษ ไร้ตะเข็บเส้นด้าย ทนทานการขูดขีดบาดเฉือนได้ดี ส่วนใหญ่ที่ฝ่ามือจะมีการเคลือบสาร PU เพื่อกันลื่น และทำให้การหยิบจับชิ้นงานกระชับ และต้องผ่านมาตรฐาน CE EN388 โดยจะมีการแสดงความสามารถในการต้านทานการบาดเป็นระดับ ตั้งแต่ 1-5
2. ถุงมือป้องกันไฟฟ้า
– จะทำมาจากยางธรรมชาติ มีผิวสัมผัสที่นุ่ม ยืดหยุ่น มีความหนาประมาณ 0.5-3.4 mm
– ส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานคู่กับถุงมือหนัง โดยใช้ถุงมือหนังสวมทับถุงมือยาง เพื่อป้องกันการฉีกขาดให้ถุงมือยาง เนื่องจากถุงมือหนังมีความทนทานต่อการ เจาะ รั่ว ขีดข่วน มากกว่าทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนถุงมือยางบ่อยๆ
ออกแบบมาเพื่อใช้ป้องกันความร้อน หรือรังสีความร้อน ส่วนใหญ่จะทำมาจากหนัง,เคฟล่า หรือ อลูมิไนซ์ บุด้วยฉนวนกันความร้อนด้านใน มีระดับความสามารถในการทนความร้อนตั้งแต่ 200-800 องศาเซลเซียส(โดยประมาณ) หรือในกรณีที่ต้องการถุงมือป้องกันความร้อนที่จับชิ้นงานได้แม่นยำ และป้องกันของเหลวซึมผ่านก็มีถุงมือที่ทำจากซิลิโคนให้เลือกใช้เหมือนกัน
เป็นถุงมือที่ใช้ใส่สำหรับทำงานเชื่อมโดยเฉพาะงานเชื่อมอาร์กอน สามารถทนความร้อน ทนสะเก็ดไฟจากการเชื่อม ในบางรุ่นสามารถป้องกันการบาดเฉือนได้ด้วยส่วนใหญ่จะผลิตมาจากหนังวัว (หนังฟูลเกรน,หนังผิว,หนังท้อง หรือหนังชามัวร์)
ใช้เพื่อป้องกันสารเคมีต่างๆเช่น น้ำมัน จาระบี สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม สารทำความสะอาด กรด หรือตัวทำละลายต่างๆ ส่วนใหญ่ทำมาจากยางสังเคราะห์ไนไตร หรือ พีวีซี(PVC) มีความอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่นได้ ออกแบบมาให้หยิบจับชิ้นงานได้แม่นยำทั้งในเวลาแห้งและเปียก ทนต่อการเสียดสีหรือการแทงทะลุในระดับหนึ่ง