“หน้ากากคาร์บอน” ใช้แทนหน้ากาก N95 ได้หรือไม่ ?
ช่วงนี้เหตุการณ์ฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 คลุ้งในเขตกรุงเทพและทั่วประเทศ กลายเป็น “มหันตภัยทางสุขภาพ” ระดับชาติไปแล้ว ประชาชนที่ได้รับผลกระทบต่างมองหาหน้ากากอนามัยกันแทบสินค้าขาดตลาด โดยหน้ากาก N95 นั้นคือตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากเชื่อกันว่าสามารถป้องกันฝุ่นพิษที่ว่านี้ได้ แต่ตอนนี้ยังมีหน้ากาอนามัยอีกแบบหนึ่งที่อาจช่วยได้ นั่นคือ “หน้ากากคาร์บอน” แต่ทว่าสิ่งนี้จะมีคุณสมบัติอย่างไร และสามารถใช้แทน N95 ได้จริงหรือไม่
หน้ากากคาร์บอนคืออะไร? สรุปแล้วใช้แทนหน้ากาก N95 ได้หรือไม่?
แม้ว่าหน้ากากที่ใช้ป้องกันฝุ่นเล็กขนาด 2.5 ไมครอน (PM 2.5) จะหาได้ยากในสินค้าหมวดสุขภาพทั่วๆ ไป ทำให้ “หน้ากากคาร์บอน” คือตัวเลือกหนึ่งที่ถูกพูดถึงในตอนนี้ แต่ว่าหน้ากากชนิดนี้จะป้องกันได้จริงหรือไม่?
ลองยกตัวอย่างหน้ากากอนามัย 3M ชนิดกรองคาร์บอน ซึ่งมีคุณสมบัติหลักๆ ดังนี้
- กรองเชื้อแบคทีเรีย (BFE) ขนาดอนุภาคเฉลี่ย 3 ไมครอน
- ประสิทธิภาพการกรองไม่น้อยกว่า 95% ตามมาตรฐานของสถาบันอาชีวอนามัยและสุขภาพ (NIOSH) จากประเทศสหรัฐอเมริกา
- สามารถป้องกันผุ่นละออง และกรองกลิ่นไม่พึงประสงค์ ไอระเหยและควันเสียจากมลพิษในอากาศ เครื่องยนต์ และยานพาหนะต่างๆ ได้
จะเห็นได้ว่าสินค้าตัวนี้กรองสิ่งแปลกปลอมทั่วไปได้เป็นอย่างดี แต่นั่นก็หมายถึงว่าป้องกันสิ่งที่มีขนาดตั้งแต่ 3 ไมครอนขึ้นไปได้ แสดงว่าสินค้าตัวนี้เมื่ออ้างอิงจากคุณสมบัติแล้ว ไม่สามารถกรองวัตถุขนาด 2.5 ไมครอนได้ เท่ากับว่าป้องกันฝุ่น PM 2.5 ไม่ได้ แม้จะได้รับการรับจากจากสถาบัน NIOSH แล้วก็ตาม
“หน้ากากคาร์บอน” อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกันภัยจากฝุ่น PM 2.5 เพราะสินค้าบางรุ่นก็กรองสิ่งแปลกปลอมขนาด 2.5 ไมครอนไม่ได้ หรือไม่ได้ระบุรายละเอียดที่เราต้องการทราบทั้งหมด ดังนั้นหากต้องการใช้หน้ากากคาร์บอน ให้พิจารณาเรื่องการป้องกันฝุ่น PM 2.5 และสถาบันที่รับรองคุณภาพการป้องกันฝุ่นไว้ก่อนเสมอ
อย่างไรก็ตามหน้ากากที่กรองได้เพียง 3 ไมครอนก็เพียงพอกับคนที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือว่าไม่ได้ทำกิจกรรมนอกสถานที่หรืออยู่กลางแจ้ง ทำให้หน้ากากคาร์บอนยังเป็นตัวเลือกที่ดี หากจะใส่เพื่อป้องกันจากฝุ่นและมลพิษอื่นๆ เพื่อและลดต้นทุนการดูแลสุขภาพของตัวเอง