Back Support อุปกรณ์เซฟตี้สำหรับการยกของหนัก
เข็มขัดพยุงหลัง หรือ Back Support เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันจึงมีผู้ผลิตเข็มขัดพยุงหลังออกมาเป็นจำนวนมากหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยผู้ที่ซื้อหาไปใช้นั้นส่วนใหญ่มักเชื่อตามคาโฆษณาหรือคาบอกเล่าต่อ ๆ กันถึงสรรพคุณต่าง ๆ ของเข็มขัดพยุงหลังที่ว่าช่วยป้องกันอาการปวดหลัง ปกป้องส่วนหลังจากการบาดเจ็บเมื่อต้องยกของ ป้องกันกระดูกสันหลังเคลื่อน และคนทั่วไปอาจสวมใส่เพื่อช่วยเสริมบุคคลิกให้ดูผึ่งผาย โดยเชื่อว่าอุปกรณ์นี้จะช่วยควบคุมแผ่นหลังให้อยู่ในแนวตรง ไม่โค้งงอ ผู้ใช้สามารถสวมทับเสื้อผ้า หรือสวมไว้ด้านในเสื้อผ้าได้ ฯลฯ
ที่มาของ Back Support
เข็มขัดพยุงหลังที่ใช้กันทั่วไปในคนทางานนั้นดัดแปลงมาจากเฝือกพยุงเอว (Lumbo sacral Support) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ควรใช้เมื่อจาเป็นหรือตามแพทย์สั่งเท่านั้น โดยมีจุดประสงค์ในการใส่เพื่อประคองหลังในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมาก หรือมีการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่ส่วนหลัง หรือเป็นโรคเกี่ยวกับหลัง เช่น โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) โรคหมอนรองกระดูกแตกกดทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus) กระดูกสันหลังเคลื่อน ตลอดจนผู้ป่วยหลังผ่าตัดส่วนหลัง เป็นต้น ผู้ป่วยดังกล่าวมักมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องลดลง จึงจาเป็นต้องมีการประคับประคองส่วนหลังชั่วคราว
ข้อดีของการใส่เฝือกพยุงเอว จะช่วยกระชับบริเวณแผ่นหลังและช่วยทางานแทนกล้ามเนื้อหลังที่อ่อนแรงหรือมีอาการเจ็บมาก การรัดที่แผ่นหลังจะทาให้ผู้ป่วยรู้สึกกระชับ สบายเหมือนกับกล้ามเนื้อหลังไม่ได้ทางานและอาการปวดหลังลดลง นอกจากนี้ยังเป็นการจากัดการเคลื่อนไหวของส่วนหลัง ร่างกายจึงมีโอกาสซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บให้หายเร็วขึ้น เพราะการเคลื่อนไหวที่น้อยลง อย่างไรก็ดีในทางการแพทย์จะให้ผู้ใส่เฝือกพยุงเอวถอดออกโดยเร็ว ไม่สวมใส่ไปตลอดนาน ๆ เพราะข้อเสียของการใส่เฝือกพยุงเอวในระยะยาว คือ การสวมใส่อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานานจะทาให้กล้ามเนื้อรอบลาตัวทางานลดลงและที่สาคัญคือผู้สวมใส่มักติดการใช้ไม่ยอมถอดออก เพราะไม่มั่นใจ กลัวว่าการเคลื่อนไหวจะทาให้บาดเจ็บหรือปวดหลังอีก จึงเป็นผลให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังและหน้าท้องของผู้สวมใส่อ่อนแรงลง
ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้เข็มขัดพยุงหลังในสถานที่ทำงาน
ปัจจุบันยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้เข็มขัดพยุงหลังในสถานที่ทำงานไม่มาก ยังคงต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อให้มีการสนับสนุนที่เพียงพอต่อการใช้เข็มขัดพยุงหลังในการป้องกันการบาดเจ็บที่หลัง โดยเฉพาะในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เข็มขัดพยุงหลังกับอัตราการบาดเจ็บที่หลังส่วนล่าง อย่างไรก็ดี มีข้อคาถามซึ่ง NIOSH ได้ชี้แจงและให้คาแนะนำเกี่ยวกับการใช้เข็มขัดพยุงหลังในสถานที่ทำงานดังต่อไปนี้
- การสวมเข็มขัดพยุงหลังจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีผลการศึกษาที่แน่ชัดว่าการสวมใส่เข็มขัดพยุงหลังนั้นเป็นประโยชน์หรือเป็นอันตราย เพียงแต่มีการคาดเดาว่าเข็มขัดพยุงหลังอาจจะช่วยได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อควรพิจารณาว่าการใช้เข็มขัดพยุงหลังในการทางานอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมา NIOSH มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่เป็นอันตรายจากความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการใช้เข็มขัดพยุงหลัง มีงานวิจัยบางชิ้นระบุว่าผู้ปฏิบัติงานส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่าเขาสามารถยกของได้เพิ่มขึ้นเมื่อสวมเข็มขัดพยุงหลัง ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติงานมีความเชื่อผิด ๆ ว่าตนเองได้รับการปกป้องอันตรายแล้วจากการสวมเข็มขัดนี้ ก็อาจส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นกระทาการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อตนเองโดยการยกของที่มีน้าหนักมากขึ้นกว่าปกติที่เคยยกโดยไม่สวมเข็มขัด
- ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการปกป้องอันตรายจากการยกอย่างไร แทนที่จะเชื่อถือในเรื่องการใช้เข็มขัดพยุงหลังเพียงอย่างเดียว นายจ้างหรือผู้บริหารควรจะเริ่มนาแผนงานด้านการยศาสตร์ (Ergonomics program) มาใช้เพื่อเป็นการปกป้องอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ซึ่งแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันการบาดเจ็บที่หลังคือการออกแบบสภาพแวดล้อมในการทางานและปรับปรุงวิธีการทางานใหม่เพื่อลดอันตรายจากการยกย้ายวัสดุ ทั้งนี้ควรจัดให้มีการฝึกอบรมที่ชี้ให้เห็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการยกและให้ความรู้ในเรื่องเทคนิคและวิธีการยกย้ายวัสดุอย่างปลอดภัย ซึ่งจะช่วยให้แผนงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการใช้แต่เพียงเข็มขัดพยุงหลังนั้นไม่เพียงพอที่ปกป้องอันตรายแก่ผู้ปฏิบัติงานได้
- การนำหลักการด้านการยศาสตร์มาใช้ในการปรับปรุงสภาพการยก โดยขั้นตอนแรกควรเริ่มจากการประเมินลักษณะงานที่เสี่ยงอันตราย เช่น งานที่ต้องมีการยกย้ายวัสดุบ่อยๆ ท่าทางการทางานที่มีการก้มตัว บิดหรือเอี้ยวตัว หรือมีการออกแรงผลักหรือดึง จากนั้นควรปรับปรุงลักษณะการทางานใหม่โดยมีแนวทาง เช่น
– ใช้อุปกรณ์ช่วยผ่อนแรงในการยกย้ายวัสดุ เช่น ใช้รถเข็น รางเลื่อน ทางลาดเอียง การชักรอก หรือใช้รถยกเพื่อเคลื่อนย้ายวัสดุที่มีน้าหนักมาก หรือใช้แรงโน้มถ่วงช่วยในการเคลื่อนย้ายวัสดุ
– ถ้าต้องใช้แรงคนในการยก ควรลดน้าหนักของที่จะยกให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
– จัดวางสิ่งของที่จะยกให้อยู่ใกล้ตัว
– ระยะการยกควรอยู่ในช่วงระหว่างความสูงไหล่และข้อนิ้ว
– หลีกเลี่ยงการยกที่ต้องมีการบิดเอี้ยวตัว - ข้อแนะนาหากยังคงมีการตัดสินใจที่จะใช้เข็มขัดพยุงหลัง ในประเด็นนี้ NIOSH เชื่อว่าการตัดสินใจที่จะใช้เข็มขัดพยุงหลังควรเป็นความสมัครใจทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ทั้งนี้ไม่ควรกาหนดให้การใช้เข็มขัดพยุงหลังเป็นระเบียบหรือข้อบังคับในการทางาน และหากยังคงมีการสวมใส่เข็มขัดพยุงหลังในสถานที่ทางาน ควรคานึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้
– ปัจจุบันยังขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าเข็มขัดพยุงหลังใช้ได้ผลจริง
– ผู้ปฏิบัติงานที่สวมเข็มขัดพยุงหลังอาจพยายามที่จะยกน้าหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าการไม่สวมเข็มขัด เนื่องจากความเชื่อที่ผิดว่าเข็มขัดพยุงหลังช่วยให้ปลอดภัย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้
– ทั้งนายจ้างและผู้ปฏิบัติงานควรปรับปรุงสภาพการทางานและวิธีการงานใหม่เพื่อลดอันตรายที่เกิดจากการยกของ มากกว่าที่จะใช้เข็มขัดพยุงหลังเพียงอย่างเดียวในการป้องกันการบาดเจ็บ
– จำเป็นต้องมีงานวิจัยที่ทาการประเมินประสิทธิภาพของเข็มขัดพยุงหลังอย่างเพียงพอ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกหลายปีจึงจะเสร็จสมบูรณ์ ในระหว่างนี้ผู้ปฏิบัติงานจึงไม่ควรสรุปว่าเข็มขัดพยุงหลังสามารถป้องกันการบาดเจ็บที่หลังได้
ที่มาของข้อมูล : บริษัท โอ.ที.กรุ๊ป(เชียงใหม่) จำกัด